ด้านบนจะเป็นเล่าโดยแอดนาโนนะ ย่อยแบบเก็ตง่าย
ส่วนส่วนล่างค่อยแปลแบบตาม original
Optimism ไม่ได้ทำแค่เชน แต่ต้องการสร้าง infrastucture บน decentralize จริงๆ โดยการทำ ethereum ให้ scale ดังนั้น การทำอะไรดีๆเกี่ยวกับ ETH ก็อาจจะเกี่ยวกับ Optimism และมีแนวโน้มเข้าข่าย retroPGF ด้วย
เพราะอนาคต Optimism และ L2 อื่นๆ จะเป็นพื้นฐานของระบบดิจิตอลโลกก็ได้
ยกตัวอย่างสิ่งที่ optimism vision ทำให้เป็นจริงได้เช่น ปัจจุบัน คนไทยโอนเงินกันสบายด้วย mobile banking centralize จากธนาคาร เราสะดวกกัน
แต่ทั่วโลกไม่ได้สะดวกแบบนั้น ด้วย optimism คนทั้งโลกจะโอนเงินดิจิตอลกันสะดวกๆได้ในอนาคต
วันไหนเราจะไปเที่ยวญี่ปุ่น ไม่ก็ไม่ต้องไปแลกเงินที่ธนาคาร/superrich แต่เราก็ swap เอา
ไปถึง ญี่ปุ่น ก็แสกนจ่ายได้เหมือนตอนอยู่ไทย
เราสามารถมี social media คุณภาพบน blockchain ได้ด้วย OP เช่นกัน
vision ที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ OP team ไม่ได้อยากลุยเองคนเดียว แต่ต้องการคนมาช่วยมากเท่าไหร่ยิ่งดี
ดังนั้นจึงมี Impact = Profit
นอกจากเรื่องโค้ดที่ดีแล้ว แอดชอบส่วน gov มาก
เราจะเห็นว่ารูปประกอบเป็นรูปเมือง สิ่งที่คอมมูทำอยู่คือเหมือนเป็นประเทศประชาธิปไตยที่เพิ่งเกิดใหม่เลย
มีการช่วยกันร่างกฏเกณฑ์ โดยผู้มีส่วนร่วมก็จะได้รับ retroPGF ไป
ใครได้ delegate 0.25% ของ OP ที่ถูกdelegate อยู่ จะมีหน้าที่ช่วยเลือกว่าจะผลักดันโปรเจคไหนเข้าสภา (เหมือน สส. ที่ประชาชนเลือกมาปะ)
มีการแต่งตั้ง citizen(เป็น role นึง ไม่ใช่ user ทั่วไปนะ) citizen จะเป็นผู้กำหนดว่าใครจะได้ retroPGF มากน้อยเท่าไหร่
มี grant council ตัดสินใจว่าอยากให้มีโปรเจคอะไรเกิดขึ้น
มี foundation ที่จะค่อยๆลดความสำคัญลงไป เพื่อ decentralize
มีรายการ task ที่อยากให้คนมาทำ
และ คนไหนอยากทำ public goods อะไรก็มาเสนอเพื่อรับทุนไปทำได้
เนื่องจากเป็นประเทศที่ใหม่สด หลายๆ task ยังเป็นการร่างกฏ, สร้างstandardในการทำงาน และ ทำเครื่องมือให้ contributors ทำงานได้ง่าย
อาจจะมี L2 หรือโปรเจคอื่นๆที่พยายามจะ decentralize เหมือนกัน แต่เท่าที่รู้ OP มีความมุ่งมั่น และ ชัดเจนสุดที่สุด
ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็น จิ๊กซอว์ อีกชิ้นที่ให้เพื่อนๆ เข้าใจความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่ OP จะทำ และ contributeได้ง่ายขึ้น เห็นภาพรวมขึ้น
Web3 ได้เปิดประตูสู่ potential ความเป็นไปได้แบบใหม่ - เป็น cyberspace ที่บริหารโดย citizen
มันสำคัญมากที่เราจะจับโอกาสนี้เอาไว้. Cyberspace ในปัจจุบัน รับกฏ economic จากโลกจริง ซึ่งไม่ได้สอดคล้องเหมาะสมกัน old world สร้างจากเนื้อและเหล็ก
แต่ cyberspace สร้างโดย ข้อมูล ซึ่งสามารถทำซ้ำได้ง่าย
นี่หมายความว่า public goods หรือการทำความดีเพื่อเห็นผลสำคัญกับ cyberspace ได้ง่ายกว่า old world มากๆ และเราควรผลักดันตรงนี้ ดังนั้นเราควรเลิกใช้ economic แบบ old world ซึ่งทำให้ reward ผู้สร้าง public goods ไม่สะดวก
The Optimism Collective เป็นโมเดลใหม่ของ การกำกับดูแลประชาธิปไตยแบบดิจิตอล
optimism collective เกิดขึ้นเพื่อให้มี growth แบบรวดเร็วและยั่งยืนบน decentralize ecosystem
collective คือกลุ่มของคอมมูนิตี้, บริษัท และ citizen (แปลว่าพลเมือง) ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้ประโยชน์จาก "impact = profit" - หลักการที่ว่า impactที่ดี ควรได้รับการตอบแทนอย่างเหมาะสม
คำนี้จะเป็นหมุดหมายนำทางให้ ecosystem มีความ productive และ เศรษฐกิจที่เกื้อกูลกัน
Optimism collective จะขัดความเชื่อเดิมๆที่ว่า ทำ public goods ไม่สามารถก่อให้เกิดกำไร เรามีการตั้ง retroactive good fund ซึ่งจะแจกจ่ายทรัพยากรจำนวนมากให้กับ ผู้ที่สร้าง public goods ให้กับ Optimism, Ethereum และ collective
Public goods เหล่านี้ก็จะเป็นตัวขับเคลื่อน collective economy ซึ่งเมื่อวนไปแบบนี้ก็จะทำให้ impact สูงขึ้นเรื่อยๆ
เราคาดหวังว่าเมื่อ The Collective เติบโตมากขึ้น สโคปของสิ่งที่เรียกว่า public goods ก็จะโตตามไปด้วย อนาคตเราอาจจะขยายเกินขอบเขตของ digital ไปสู่ physical world
คอนเสปทีว่า decentralized ecosystem จะสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนอาจจะดูไกลตัวในวันนี้ แต่อนาคตเราอาจจะได้เห็นมันทุกที่
เราจะสร้าง อนาคตของ cyberspace ที่เน้นความร่วมือ ไปด้วยกัน
เราจะเรียก Ether’s Phoenix. ด้วยกัน
ref https://www.optimism.io/vision
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณที่ติดตามกันนะครับ หากชอบสามารถ follow, subscribe, mint nft เลี้ยงกาแฟนาโนกันได้ครับ ขอบคุณมากๆครับ
Over 400 subscribers